อาชีวประวัติ ของ ที. คอลิน แคมป์เบลล์

ดร. แคมป์เบลล์เริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์แล้วหลังจากนั้นทำงานอยู่เป็นเวลา 10 ปีที่เวอร์จิเนียเทคในคณะชีวเคมีและโภชนาการก่อนที่จะกลับไปสู่มหาวิทยาลัยคอร์เนลในปี ค.ศ. 1975 โดยเข้าร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์โภชนาการต่อมาเขาได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาชั้นอาวุโสทางวิทยาศาสตร์ให้กับสถาบัน American Institute for Cancer Research (สถาบันอเมริกันเพื่องานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง)[4] และเป็นกรรมการขององค์กรการกุศล Physicians Committee for Responsible Medicine (คณะกรรมการนายแพทย์เพื่อการแพทย์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม)[5] ดร. แคมป์เบลล์เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของงานวิจัย ส่วนหนึ่งจากงานวิจัยในประเทศจีนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโปรตีนสัตว์กับการเกิดขึ้นของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ[6] ดร. แคมป์เบลล์เสนอว่า เคซีน (casein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม "เป็นสารก่อมะเร็งที่มีนัยสำคัญที่สุดที่เราบริโภค"[7]

ตัว ดร. แคมป์เบลล์เองได้เริ่มทานอาหารมังสวิรัติแบบเคร่งตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990[8] เขาไม่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้กินเจ" เพราะว่า "ชื่อเหล่านี้มักมีความหมายครอบคลุมถึงความคิดอื่น ๆ ที่ผมไม่สนับสนุน"[9] เขาได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อเมริกันเดอะนิวยอร์กไทมส์ไว้ว่า "ไอเดีย (ที่ผมสนับสนุน) ก็คือว่า พวกเราควรจะบริโภคอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตหรือมีการนำส่วนต่าง ๆ ออก (คือไม่ผ่านการฟอก) เราไม่ควรยืนหยัดอยู่ในความคิดเพียงแค่ว่า ยีนเป็นตัวกำหนดสุขภาพของเราหรือว่า การบริโภคอาหารเสริมเป็นวิธีที่ (ร่างกาย) จะได้คุณค่าอาหารทุกอย่าง เพราะว่าความจริงไม่ใช่เป็นแบบนั้นอาหารที่ผมพูดถึง (และสนับสนุน) ก็คือ อาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตหรือมีการนำส่วนต่าง ๆ ออก ที่มาจากพืช"[10]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 ดร. แคมป์เบลล์ได้เป็นสมาชิกของคณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารคณะต่าง ๆ ของ บัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (United States National Academy of Sciences)และมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ที่บัณฑิตยสถานการแพทย์เชิงป้องกันแห่งสาธารณประชาชนจีน (Chinese Academy of Preventive Medicine)[4] นอกจากนั้นแล้ว ดร. แคมป์เบลล์ ยังปรากฏในภาพยนตร์สารคดี Forks Over Knives (ใช้ซ่อมดีกว่าถูกมีด), Planeat (จะกินให้หมดทั้งโลกเลยหรือไง)[11], และ Vegucated (จะกินมังสวิรัติไปทำไม)[12]

ในปี ค.ศ. 2010 หลังจากการผ่าตัดหัวใจ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาบิล คลินตัน ได้เปลี่ยนการบริโภคอาหารไปเป็นมังสวิรัติแบบเคร่งตามที่ ดร. แคมป์เบลล์, น.พ. คอลด์เวลล์ เอสเซลเตน, และ ศ. น.พ. ดีน ออร์นิช แนะนำ[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ที. คอลิน แคมป์เบลล์ http://video.google.com/videoplay?docid=-130897776... http://www.huffingtonpost.com/t-colin-campbell/for... http://www.huffingtonpost.com/t-colin-campbell/low... http://www.huffingtonpost.com/t-colin-campbell/pla... http://opinionator.blogs.nytimes.com/2011/06/29/to... http://well.blogs.nytimes.com/2011/01/07/nutrition... http://www.nytimes.com/1990/05/08/science/huge-stu... http://www.philly.com/philly/food/health/vforveg/I... http://www.vegparadise.com/24carrot92.html http://www.youtube.com/watch?v=UoHt9cSWJVI&feature...